กินน้อยแล้วนะ ทำไมถึงยังอ้วนอีก ?

ชื่อผู้เขียน อำนาจ ชินพงษ์พานิช

โบว์ : นุ้ยๆ ฉันไม่เข้าใจเลย ช่วงนี้ฉันพยายามลดน้ำหนักอยู่ กินน้อยก็แล้ว ออกกำลังกายก็แล้ว แต่ทำไมน้ำหนักไม่ค่อยจะลดเลย ทำมาสองเดือนแล้วนะ !

นุ้ย : เธอยังดี ฉันนี้สิ น้ำหนักขึ้นตั้ง 2 กิโล

โบว์ : งั้นเราไปถามคุณครูกันว่าทำไม

โบว์-นุ้ย : คุณครูค่ะ เราสองคนมีเรื่องสงสัยค่ะ

โบว์ : ที่คุณครูเคยสอนไว้ว่า คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันเป็นสารให้พลังงาน ดังนั้นเวลาเราจะเลือกซื้ออะไรมากิน เราควรจะดูที่ข้อมูลโภชนาการ และศึกษาข้อมูลปริมาณแคลอรีที่จะได้รับก่อน เพื่อไม่ให้เราได้รับปริมาณแคลอรีแต่ละวัน เกินจากที่ควร จำแม่นเลยค่ะ พวกเราต้องกินไม่เกิน 1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน นอกจากนี้เราก็ควรจะออกกำลังกายสม่ำเสมออีกด้วย

คุณครู : ถูกต้องตามที่พวกเราพูดมา แต่มีรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านั้นซึ่งเราจะได้เรียนในระดับที่สูงต่อไป แต่ครูจะอธิบายให้พอเข้าใจก่อนนะ

โบว์-นุ้ย : ค่ะ

คุณครู หลังจากที่อาหารผ่านการย่อยที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กแล้ว กลูโคสและโซเดียมที่มาจากอาหารจะถูกนำเข้าสู่เซลล์ผนังลำไส้เล็กผ่านทางเยื่อหุ้มเซลล์ แต่การเคลื่อนที่เข้าสู่ภายในเซลล์ลำไส้เล็กนี้ มันมีข้อแม้ของมันอยู่

นุ้ย : แล้วข้อแม้ที่ว่านี้คืออะไรหรอคะ

คุณครู : กลูโคสจะเคลื่อนที่เข้ามาได้ก็ต่อเมื่อมีโซเดียมไอออน โดยทั้งกลูโคสและโซเดียมไอออนจะเคลื่อนที่เข้ามาพร้อมกัน     ดังนั้นถ้าเรามีโซเดียมไอออนอยู่น้อย น้ำตาลที่จะสามารถเข้าเซลล์ก็จะน้อยตามไปด้วย ซึ่งเจ้าโซเดียมที่ว่านี้ก็คือส่วนประกอบของเกลือนั่นเอง  ก็ NaCl ไงล่ะ จึงเป็นเหตุผลว่าถึงแม้เราจะกินแป้งน้อยลง แต่ถ้าเราชอบกินอาหารรสเค็ม ก็จะทำให้แป้งที่เรากินเข้าไปถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากในรูปของน้ำตาล ทำให้เราน้ำหนักลดลงยากไงจ๊ะ

นุ้ย : หนูจำได้ละ คุณครูเคยสอนว่าให้ดูปริมาณโซเดียมที่เป็นองค์ประกอบในอาหาร เป็นอย่างนี้นี่เอง งั้นต่อไปนี้พวกเราจะลดเค็มค่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของพวกเรา โบว์ เธอต้องลดขนมขบเคี้ยวบรรจุซองนะ เกลือเยอะมากเลยล่ะ

คุณครู : เห็นไหมคะ วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สนุกมากเลย ทำให้เราเข้าใจถึงสาเหตุและรู้ผลที่จะเกิดขึ้น เพื่อที่ว่าเราจะหาทางป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

บทความเรื่อง Biology of Human Sodium Glucose Transporters

บทความเรื่อง สรีรวิทยาของเยื่อผนังเซลล์

 


ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

สาระที่ 1: สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
ว 1.1 ม.2/1 อธิบายโครงสร้างและการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบสืบพันธุ์ ของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งระบบประสาทของมนุษย์
ว 1.1 ม.2/5 ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายสารอาหารในอาหารมีปริมาณพลังงานและสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย

 

Comments

comments

You May Also Like