ไม่เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคฟินิลคีโตนูเรีย แล้วเราล่ะเป็นโรคนี้ไหม

คำเตือน ไม่เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคฟินิลคีโตนูเรีย
คำว่า “คำเตือน” ทุกคนทราบดีว่าบ่งบอกถึงอันตรายที่อาจจะเกิดกับเราได้หากยังฝืนทำสิ่งที่เขาเตือนไว้ แต่ปรากฏว่าขนาดของตัวอักษร “คำเตือน” ที่มีในหีบห่อบรรจุภัณฑ์ของสินค้าส่วนใหญ่นั้น ช่างเล็กจิ๋ว ชนิดที่ต้องใช้แว่นขยายช่วยจึงจะอ่านได้รู้เรื่อง

หมากฝรั่งที่มีคำเตือนถ่ายด้วยขนาดปกติและกำลังขยาย 20 x
หมากฝรั่งที่มีคำเตือนถ่ายด้วยขนาดปกติและกำลังขยาย 20 x

เหตุที่ต้องมีคำเตือนดังกล่าว ก็เพราะในเมืองไทยระยะหลังๆผู้บริโภคมีความตื่นตัวเรื่องปัญหาสุขภาพในช่องปากมากขึ้น
เพื่อหลีกเลี่ยงการมีน้ำตาลอยู่ในปากตลอดเวลาของผู้เคี้ยวหมากฝรั่ง ผู้ผลิตจึงได้เปลี่ยนไปใช้สารทดแทนความหวานแทนน้ำตาลกันแทบทั้งหมด สารเหล่านี้ เช่น แอสปาแตม มีกรดอะมิโนฟินิลอะลานีนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย สารนี้ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นมาจากสารอาหารชนิดอื่น ๆ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารโปรตีนที่มีฟินิลอะลานีนเท่านั้น
ในกรณีของคนที่เป็นฟีนิลคีโตนูเรีย(PKU) หากได้รับฟีนิลอะลานีนเกินกว่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงได้จะถูกเปลี่ยนไปเป็น Phenylpyruvic acid ซึ่งเป็นสารอันตราย ทำลายการพัฒนาของเซลล์สมอง

PKU เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในเมืองไทยมีอัตราการปรากฏอยู่ที่ประมาณ 1 คน ในทุก 20,000 คน ปัจจุบันเด็ก ๆ ที่เกิดในโรงพยาบาลทุกแห่ง จะได้รับการคัดกรองว่ามีอาการนี้หรือไม่ หากตรวจพบว่ามีอาการดังกล่าว จะต้องได้รับการดูแลเรื่องอาหารที่รับประทานอย่างเข้มงวด แม้แต่นมแม่ก็ไม่สามารถให้ได้ เพราะจะมีโปรตีนหลากหลายที่มีกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนเป็นองค์ประกอบด้วย คนกลุ่มนี้จะต้องรับประทานอาหารโปรตีนพิเศษที่มีปริมาณฟีนิลอะลานีนจำกัดเท่าที่ร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์ได้เท่านั้น จะมีเกินจากนั้นไม่ได้เด็ดขาด เพราะจะนำไปสู่การสร้างสารอันตรายดังกล่าวแล้ว ส่วนคนทั่วไปที่เติบโตมาโดยสามารถรับประทานอาหารโปรตีนได้อย่างปกติแล้ว ก็เชื่อได้ว่าไม่มีอาการฟีนิลคีโตนูเรียแต่อย่างใด

ข้อมูลเพิ่มเติม
มีโครงสร้างของแอสพาแตม (Aspartame) แสดงไว้ชัดเจนว่ามี ฟีนิลอะลานีนด้วย
ศูนย์ปฏิบัติการคัดกรองสุขภาพเด็กแรกเกิด มีข้อมูลโรคฟีนิลคีโตนูเรียครบทุกด้าน
บทความในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ “เมื่อลูกถูกห้ามโปรตีนจากโรค PKU” บอกเล่าเรื่องราวของเด็กหญิงชาวฮังกาเรียนที่เป็น PKU


ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

สาระที่ 1: สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
ว 1.1 ม.2/5 ทดลอง วิเคราะห์ และอธิบายสารอาหารในอาหารมีปริมาณพลังงานและสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย

Comments

comments

You May Also Like