เล่าเรื่องนาฬิกา

มนุษย์ยุคที่ยังไม่มีนาฬิกานั้นการที่จะรู้ถึงการเปลี่ยนผ่านของวันเวลาจะใช้การสังเกตทิศทางของเงา โดยเงาจะเคลื่อนที่ทางทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออกตามเวลาที่เปลี่ยนไปในแต่ละวัน จนมีการสร้างนาฬิกาแดดด้วยการนำไม้ไปปัก แล้วให้ทอดเงาลงบนพื้นเพื่อสังเกตเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป

clock_1
นาฬิกาแดด

นาฬิกาแดดนั้นไม่มีความแม่นยำ มนุษย์จึงหาวิธีการบอกเวลาใหม่ โดยนำแรงโน้มถ่วงของโลกมาใช้เป็นเครื่องมือ เช่น การจับเวลาด้วยการนำโลหะไปปักบนเทียน แล้วสังเกตจากเสียง หรือโลหะที่ตกลงมาเมื่อเทียนละลายไปถึง มีการจับเวลาด้วยการเจาะรูขนาดเล็กให้น้ำไหลออกมา จนกระทั้งพัฒนามาเป็นนาฬิกาทราย การใช้งานนาฬิกาลักษณะนี้จะใช้ในเวลาสั้น ๆ และต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงของปริมาตร และมีความแม่นยำน้อยมาก มนุษย์จึงพัฒนานาฬิกากลไกขึ้นโดยออกแบบเป็นเฟือง แล้วอาศัยแรงจากลูกตุ้มน้ำหนัก ซึ่งอาศัยแรงโน้มถ่วงดึงลูกตุ้มน้ำหนักที่แขวนอยู่เพื่อให้กลไกทำงาน

นาฬิกาทราย
นาฬิกาทราย

clock_3
ในปี ค.ศ. 1584 กาลิเลโอ นักดาราศาสตร์และนักประดิษฐ์ชาวอิตาลี ได้สังเกตการแกว่งของโคมไฟที่แขวนอยู่บนเพดานโบสถ์ ทำให้เขาค้นพบการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกาขึ้นมา โดยเขาสงสัยว่าแต่ละรอบของการแกว่งใช้เวลาเท่ากันหรือไม่ เขาจึงลองจับเวลาเทียบกับชีพจรของตัวเอง และพบว่าแต่ละรอบเวลาจะเท่ากันเสมอ และเวลาจะขึ้นอยู่กับความยาวของเชือกด้วย แต่กาลิเลโอ ก็เสียชีวิตก่อนที่จะสร้างนาฬิกาได้สำเร็จ จนในปี ค.ศ. 1656 คริสเตียน ฮอยเกนส์ ได้นำแนวคิดนี้มาแล้วสร้างนาฬิกาได้สำเร็จ

ในปัจจุบันนาฬิกามีการพัฒนาไปมากมาย บางท่านคงเคยใช้นาฬิกาแบบไขลาน แบบใส่ถ่าน และแบบอัตมัติซึ่งไม่ต้องใส่ถ่านก็มีพลังงานในการเดินได้เองก็ยังมี


ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
ว 4.1 ม.2/1 ทดลองและอธิบายการหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในระนาบเดียวกันที่กระทำต่อวัตถุ

Comments

comments

You May Also Like