แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่พยากรณ์การเกิดได้ยาก แผ่นดินไหวที่มีขนาดเท่ากันบางประเทศจะเสียหายน้อย บางประเทศจะเสียหายมาก ขึ้นอยู่กับการเตรียมรับมือของประชาชนและโครงสร้างต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ หากเราเตรียมการไว้ล่วงหน้าความเสียหายก็จะเกิดขึ้นน้อยลง
แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก หรือคลื่นไหวสะเทือนที่อยู่ในแกนโลกแล้วส่งพลังงานผ่านเนื้อโลกขึ้นมา จุดที่เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ทำให้จุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีการไหวสะเทือนเป็นคลื่นแล้วเดินทางไปตามเปลือกโลก โดยลักษณะของคลื่นมีทั้งคลื่นตามยาวและคลื่นตามขวาง ซึ่งจะทำให้พื้นผิวโลกเกิดการสั่นในลักษณะต่าง ๆ
แผ่นดินไหวนี้แม้ว่าบนพื้นโลกจะสั่นเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าหากอยู่บนตึกสูงจะทำให้การสั่นไหวเป็นระยะทางที่มากขึ้น การก่อสร้างต่าง ๆ จึงควรออกแบบให้ปัองกันการสั่นสะเทือนไว้ด้วย ซึ่งวิธีการลดการสั่นสะเทือนทำได้หลายวิธี เช่น ออกแบบสิ่งก่อสร้างให้มีความยืดหยุ่น ตั้งสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน หรือใช้เครื่องมือหรือวัสดุพิเศษเพื่อรักษาความสมดุลของสิ่งก่อสร้างไว้ ตัวอย่างเช่น ตึกไทเป 101 เป็นตึกสูง 509 เมตร ใช้อุปกรณ์ลดการสั่นสะเทือนที่เรียกว่า TMD (Tuned Mass Damper) ซึ่งเป็นลูกตุ้มหนัก 660 ตัน ติดตั้งอยู่ที่ 87 ของตึก


พวกเราลองคิดดูซิว่า สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในบ้านของเราในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยควรคำนึงถึงการรับมือแผ่นดินไหวหรือไม่ และเราจะออกแบบกันอย่างไร
ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
ว 6.1 ม.2/10 สืบค้น สร้างแบบจำลองและอธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบของโลก
ว 6.1 ม.4-6/4 สืบค้นและอธิบายความสําคัญของปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ง 2.1 ม.2/4 เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม