คุยเฟื่องเรื่องจอภาพ

ตาคนเรามองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้เพราะว่าแสงส่องไปตกกระทบกับวัตถุนั้นแล้วสะท้อนเข้าตาของเรา แสงที่มนุษย์มองเห็นได้จะเป็น แสงขาว (Visible light) ซึ่งเกิดจากการรวมกันของสีหลาย ๆ สี

ในการสร้างสีต่าง ๆ นั้นเราสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้โดยใช้แม่สีมาผสมกัน โดยการผสมเพื่อให้ได้สีใหม่ ที่นิยมใช้กันมีสองวิธี คือการผสมสีแบบบวก และการผสมสีแบบลบ การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing) เป็นการผสมแสงสี โดยมีแม่สีสามสีคือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน เมื่อแต่ละสีผสมกันสีที่ได้จะยิ่งสว่างมากขึ้น และถ้าผสมกันทุกสีด้วยความเข้มเท่ากันเราจะได้สีขาว ส่วนการผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing) จะใช้แม่สีสามสีคือ แดงแกมม่วง สีเหลือง และสีน้ำเงินแกมเขียว การผสมสีแบบนี้ยิ่งผสมจะทำให้สีมืดลง

การผสมสีแบบลบจะใช้กับงานพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์ เราจึงต้องใช้แม่สีสามสีดังที่กล่าวมา และใช้สีดำในการพิมพ์ส่วนที่เป็นสีดำ ส่วนการผสมสีแบบบวกนั้นเราใช้กับงานการผสมแสงต่าง ๆ เช่น งานบนเวทีต่าง ๆ จอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์

เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น เราจะพบจอภาพที่ผสมแสงสีแบบใหม่ ๆ ออกมา หากเราพิจารณาจอโทรทัศน์จะพบว่ายุคแรก ๆ จะเป็นจอภาพแบบขาวดำ ซึ่งเกิดจากการยิงลำอิเล็กตรอนเพียงลำเดียวไปบนจอภาพ แล้วสแกนให้เกิดภาพ ต่อมาได้พัฒนาให้มีลำอิเล็กตรอน 3 ลำ เป็นแม่สีคือแสง สีแดง เขียว และน้ำเงิน เมื่อลำอิเล็กตรอนยิงมาผสมกันก็เกิดเป็นจุดภาพสีต่าง ๆ ตามที่ต้องการได้ จอลักษณะนี้จะมีขนาดหนา เพราะต้องยิ่งลำอิเล็กตรอนออกไป แล้วใช้สนามแม่เหล็กกับสนามไฟฟ้าสแกนออกมาให้เป็นภาพ

ต่อมาจอภาพได้พัฒนาให้เล็กลงบางลงเป็นจอแบบ LCD ซึ่งจะมีแหล่งกำเนิดแสงอยู่ด้านหลัง แล้วใช้สนามไฟฟ้าทำให้ผลึกเหลวบิดไปมา ทำให้เราเห็นจุดภาพแต่ละจุดมีสีต่าง ๆ ได้ แต่จอลักษณะนี้จะมีความสว่างน้อย หากมองเอียง ๆ มองไม่ค่อยชัดเพราะว่าแสงเดินทางเป็นเส้นตรงนั้นเอง

เมื่อมีการพัฒนาเป็นจอแบบ LED ซึ่งแต่ละจุดภาพจะมีแสงสว่างในตัวเอง แต่ละจุดภาพที่เรียกว่า พิกเซล (pixel) นั้นจะแบ่งเป็นเซลเล็ก ๆ ที่แปล่งแสงสีแดง เขียว น้ำเงิน ออกมาได้นั้นเอง เมื่อแสงแต่ละสีออกมาด้วยความเข้มแตกต่างกันก็จะทำให้ผสมกับเป็นสีต่าง ๆ มากมายได้นั้นเอง

หากเราเป็นนักพัฒนาเทคโนโลยีด้านสีสัน เราจะต้องใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาควบคุมปริมาณแสงของสีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเป็นสีตามที่เราต้องการให้ได้


ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
ว 5.1 ม.2/3 ทดลองและอธิบายการดูดกลืนแสงสี การมองเห็นสีของวัตถุ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

Comments

comments

You May Also Like