รปภ. เก่งฟิสิกส์

ระบบขนส่งสาธารณะที่คนกรุงเทพมหานครนิยมจะใช้บริการ คือ รถไฟฟ้า BTS ผู้ที่ใช้บริการทุกท่านจะต้องคุ้นเคยกับแนวเส้นสีเหลืองซึ่งเป็นเส้นที่กำหนดขอบเขตความปลอดภัยบนชานชาลารถไฟฟ้าดังรูปที่ 1 ถ้ามีผู้โดยสารท่านใดเหยียบหรือก้าวข้ามเส้นสีเหลือง ก็จะได้ยินสัญญาณนกหวีดเตือนจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนในช่วงเช้าและเย็นที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก จะมี รปภ. ควบคุมแนวเส้นสีเหลืองนี้อยู่ถึง 2 คน บริเวณด้านหัวขบวนและด้านท้ายขบวน เริ่มอยากจะทราบกันแล้วใช่ไหมว่าแนวเส้น สีเหลืองนี้จะช่วยให้ผู้โดยสารปลอดภัยจากเรื่องใดบ้าง

แนวเส้นสีเหลืองบนชานชาลารถไฟฟ้า BTS
การเคลื่อนที่ของลูกเทนนิสผ่านอากาศภายในอุโมงค์ลม

เราเริ่มศึกษาจากตัวอย่างลูกเทนนิสกันก่อนเลย จากรูปที่ 2 พบว่าเมื่อลูกเทนนิสเคลื่อนที่แหวกผ่านอากาศจะมีอากาศจำนวนหนึ่งห่อหุ้มลูกเทนนิสไว้ และจะมีแรงดึงดูดของอากาศอยู่ด้านข้างลูกเทนนิส ถ้าเรานำหลักการนี้มาอธิบายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้าผ่านชานชาลา ท่านผู้อ่านคิดว่าระยะจากขบวนรถไฟฟ้าจนถึงเส้นแนว สีเหลืองจะเปรียบเหมือนระยะใดของการเคลื่อนที่ของลูกเทนนิสในรูปที่ 2

เมื่อขบวนรถวิ่งผ่านมา อากาศระหว่างขบวนรถกับบริเวณที่เรายืนอยู่จะเคลื่อนที่เร็ว ทำให้มีความดันอากาศต่ำ อากาศรอบ ๆ จะเคลื่อนที่เข้าไปแทนที่ ซึ่งการเคลื่อนที่ของอากาศนี้สามารถดูดเราให้ตกไปยังรางรถไฟฟ้าก็เป็นได้

เนื้อหาเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับ พลศาสตร์ของไหล (Dynamic fluids) ซึ่งเป็นการประยุกต์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ ความจริงแล้วเจ้าหน้าที่ รปภ. ของรถไฟฟ้า BTS จะต้องเก่งฟิสิกส์มากใช่ไหมถึงได้คอยเตือนผู้ใช้บริการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดของเรื่องนี้ได้ที่

http://www.bts.co.th/corporate/th/04-faq.aspx?cat=2

http://www.nasa.gov/audience/forstudents/k-4/stories/what-are-wind-tunnels-k4_prt.htm


ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง

สาระที่ 4: แรงและการเคลื่อนที่

ว 4.2 ม.2/3 สังเกตและอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นแนวตรง และแนวโค้ง

 

Comments

comments

You May Also Like