พยาบาลกับงานคณิตศาสตร์

เป็นพยาบาลก็ต้องใช้คณิตศาสตร์พื้นฐานหลายเรื่อง พยาบาลต้องแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่โรงพยาบาลขณะทำงานทุกวัน ตัวอย่างเช่น กรณีของผู้ป่วยที่ต้องได้รับยา 750 มิลลิกรัมทุก 4 ชั่วโมง แต่ยาเม็ดหนึ่ง มีขนาด 250มิลลิกรัม จะต้องจัดการเตรียมยาให้ผู้ป่วยรับประทานอย่างไร พยาบาลต้องคำนวณได้ หรือในกรณีของยาฉีด ข้างขวดยาอาจระบุว่า “5 mg per cc” ซึ่งหมายความว่า มีปริมาณเนื้อยา 5 มิลลิกรัมละลายอยู่ในของเหลว 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ถ้าหมอต้องฉีดยาให้ผู้ป่วย 7.5 มิลลิกรัม พยาบาลต้องเตรียมยาไว้ให้หมอเท่าใด กี่ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือบางกรณีปริมาณยาที่จะให้ผู้ป่วยขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ป่วยด้วย พยาบาลต้องคำนวณให้ถูกต้อง เพราะหากผิดพลาด น้อยไปหรือมากเกินไป ผู้ป่วยอาจไม่หาย หรือถ้าหายก็อาจหายไปจากโลกนี้เลย
การให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือด ก็เช่นกัน ต้องคำนวณ น้ำเกลือถุงใหญ่จุ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ถ้าหมอสั่งมาว่า ผู้ป่วยคนแรกต้องได้รับน้ำเกลือ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทุก 8 ชั่วโมง และผู้ป่วยคนที่สองต้องได้รับน้ำเกลือ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทุก 30 นาที พยาบาลจะจัดการอย่างไร พยาบาลต้องคำนวณว่าในหนึ่งนาทีควรปล่อยน้ำเกลือกี่หยด จากตัวอย่างที่ยกมาเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นของคณิตศาสตร์ที่พยาบาลใช้ในวิชาชีพของตน


 

ข้อมูลเพิ่มเติม
http://work.chron.com/nurses-use-math-jobs-10475.html

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
ตัวชี้วัด : ค 1.1 ม.2/4 ใช้ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละในการแก้โจทย์ปัญหา

 

Comments

comments

You May Also Like