ตุ๊กตาคืนชีพ

เมื่อพูดถึงความสำคัญของการสังเกตสิ่งรอบตัว คุณเคยสังเกตไหมว่า เวลานั่งรถผ่านคอนโดมิเนียม ปั๊มน้ำมันหรือทางเข้าหมู่บ้าน คุณอาจจะเห็นแต่ไม่ได้ใส่ใจ บางทียกมือขึ้นข้างบนบ้าง โยกไปทางซ้ายไปทางขวาบ้าง แล้วแต่จะใส่เทคนิควิธีการ เล่ามาตั้งนาน อยากบอกว่ามันคือ ตุ๊กตาลม หรือ Skytube นั่นเอง

มันน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเมื่อเรามองในเชิงวิทยาศาสตร์ว่ามันเคลื่อนที่ดูน่ารัก และตลกแบบนี้ได้อย่างไร
อยากจะทำตุ๊กตาคืนชีพแล้วใช่ไหมล่ะ เรามาทำตุ๊กตาคืนชีพแบบย่อส่วนกันเลยดีกว่าครับ

อุปกรณ์ 

  1. แก้วกระดาษแบบใส่กาแฟ
  2. ถุงพลาสติกแบบบาง ๆ
  3. สีเมจิก
  4. กรรไกร
  5. เทปกาวสองหน้า
  6. กระดาษสีตกแต่ง

วิธีทำ

ขั้นแรกวาดภาพลงบนถุงพลาสติกขนาด 5×11 นิ้ว ให้หันปากถุงเข้าหาตัวเอง แล้ววาดภาพตามจินตนาการ เมื่อวาดเสร็จติดกาวสองหน้าที่รอบๆปากแก้วพลาสติก แล้วลอกกาวสองหน้าออก จากนั้นนำถุงที่วาดเสร็จไปครอบในแก้วกระดาษ ใช้มือกดถุงให้ติดกับถ้วยกระดาษโดยติดให้รอบถ้วย จากนั้น ใช้เทปใสติดรอบปากถ้วยกระดาษอีกรอบ เพื่อไม่ให้อากาศออกเวลาเป่า ใช้ปลายกรรไกรเจาะข้างแก้วกระดาษให้ห่างจากก้นแก้วเล็กน้อย ใช้หลอดกาแฟจิ้มเข้าไปที่เจาะรู ติดเทปกาวให้สนิท แล้วลองเป่าและดูดหลอดกาแฟดูครับ เสร็จเรียบร้อยครับ ตุ๊กตาคืนชีพ

ตุ๊กตาลม อธิบายได้ด้วยเรื่องแรงดันอากาศ มีหลักการทำงานอย่างไร ไม่ยากอย่างที่คิดครับ เวลาเป่าลมมาตามท่อ ก็จะทำให้ตุ๊กตาพองออก ถ้ามีแขน แขนก็จะกางออกเต็มที่ แต่ถ้าช่วงแขนตุ๊กตามีการเจาะรู จากที่ตุ๊กตากางแขน อากาศก็จะถ่ายเทไปบริเวณนั้นและทำให้แขนมีการพับลงมา สลับไปสลับมากับการกางแขนตลอดเวลา ดูเหมือนมันมีชีวิตอย่างที่เห็น

ในเชิงวิทยาศาสตร์เป็นการทดสอบแรงดันอากาศ เมื่อดูดอากาศในกระป๋องอากาศในตัวกระป๋องลดลง ทำให้แรงดันอากาศจากข้างนอกที่มีมากกว่า มีแรงกระทำต่อถุง ทำให้ถุงยุบกลับเข้าไปในกระป๋อง ในขณะที่เราเป่า อากาศจากตัวเราก็เข้าไปในกระป๋องทำให้เพิ่มแรงดันภายในกระป๋อง ทำให้ถุงพลาสติกพองขึ้นมา ถ้าอยากให้น่าสนใจก็วาดภาพสวย ๆ ใส่จินตนาการเข้าไปเป็นรูปต่าง หรือเขียนข้อความลงไปในถุงพลาสติก ก็จะทำให้สนุกและน่าสนใจมากขึ้นนะครับ

หลักการนี้เองเขานำมาใช้เป็นตุ๊กตาลมที่โบกให้คนเห็นตามปั้มน้ำมันครับ ไม่แน่นะครับ ถ้าหาวิธีการ และออกไอเดียใหม่ ใส่ความคิดและจินตนาการเข้าไป บางทีตุ๊กตาคืนชีพอาจทำเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้คุณได้นะครับ ว่าแต่จะลงมือทำกันไหมล่ะ ครับ คุณผู้อ่านคิดอย่างไง

ตุ๊กตาลม - ก่อนเป่าลม
ตุ๊กตาลม – ก่อนเป่าลม
ตุ๊กตาลม - หลังเป่าลม
ตุ๊กตาลม – หลังเป่าลม

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
สาระที่ 6: กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
ว 6.1 ม.1/1 สืบค้นและอธิบายองค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลก

 

Comments

comments

You May Also Like