มะลิ ราตรี กระดังงา ส่งกลิ่นหอมในช่วงเวลาที่ต่างกัน

สาวสาว เมื่อวานดูหนังมา เพิ่งเคยเห็นนะนางร้ายเป็นนักพฤกษศาสตร์ส่งดอกราตรีไปให้นางเอกวางไว้ในห้องนอน บอกว่าเป็นต้นไม้มงคล กลางคืนส่งกลิ่นหอมตลบ เล่นเอานางเอกแพ้คลื่นไส้อาเจียน สลบไปเลย
สวยสวย อืมม์ คนส่วนใหญ่พอรู้ว่าราตรีมีพิษที่ทุกส่วนของลำต้น แต่ไม่ได้คิดถึงกลิ่นด้วยนะ แล้วทำไมถึงหอมเพียงตอนกลางคืน มีกลไกอย่างไรนะ อยากหาคำตอบจัง
ดอกไม้หอมของไทยมีมากมายหลากหลาย ส่งกลิ่นในหอมในช่วงเวลาต่างๆกัน บ้างหอมเฉพาะกลางคืนเหมือนราตรี ตั้งแต่ย่ำรุ่ง ไปจนพลบค่ำ บ้างก็หอมตั้งแต่แย้มบานไปจนโรยเหมือนมะลิ บ้างก็จะให้หอมต้องลนไฟอย่างเช่นกระดังงา กลิ่นหอมของดอกไม้เป็นสารประเภทน้ำมันหอมระเหย (Volatile Oil) จะมีกลิ่นหอมให้คน ได้กลิ่นหมายความว่าจะต้องมีการระเหย คือ การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นแก๊ส การเปลี่ยนสถานะต้องใช้พลังงานเข้าไปช่วย เหมือนเราเปลี่ยนน้ำจากน้ำ (ของเหลว) ให้กลายเป็นไอน้ำ (แก๊ส) ด้วยการต้มจนถึงจุดเดือด
กลิ่นหอมของดอกไม้ก็เช่นกัน กระดังงา ที่ต้องเอาไฟลนจึงหอมก็เหมือนกับการต้มน้ำให้กลายเป็นไอ ส่วนในมะลิและราตรีนั้น อาศัยพลังงานความร้อนภายในตัวเอง พลังงานความร้อนนี้ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการหายใจ หรือ เผาผลาญอาหาร จากภาพจะเห็นว่า การหายใจของมนุษย์เรานั้นจะเก็บพลังงานจากอาหาร(กลูโคส)ไว้ได้เพียง ร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือคือพลังงานความร้อนที่ระบายออกไปสู่ระบบภายนอก พลังงานนี่เอง ที่ทำให้ความหอมของมะลิและราตรีเปลี่ยนเป็นแก๊สได้

สำหรับดอกราตรีที่จะหอมเพียงกลางคืนเท่านั้น เพราะมีกลไกที่ต้องอาศัยความมืดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหายใจแบบพิเศษ ส่งความร้อนออกมามากกว่าการหายใจแบบปกติที่เกิดขึ้นในเวลากลางวัน
คำแนะนำสำหรับครู
ครูจะนำมาใช้จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Inquiry)ได้ เริ่มโดยการกระตุ้น ให้นักเรียนคิดอย่างเป็นตรรกะ โดยใช้ความรู้เรื่องระบบพลังงานในสิ่งมีชีวิต และ การเปลี่ยนสถานะของสาร จนสามารถอนุมานได้ว่า ขนาดโมเลกุลของกลิ่นหอมของดอกไม้สามชนิดนี้ เรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ กระดังงา ราตรี และ มะลิ เมื่อนำไปเชื่อมโยงกับการกลั่นน้ำมันหอมระเหย นักเรียนจะคาดการได้ว่า อุณหภูมิที่ต้องใช้ในการกลั่น เรียงจากต่ำไปหาสูง จะเป็น มะลิ ราตรี และ กระดังงา ตามลำดับ


ข้อมูลเพิ่มเติม
พิษจากต้นราตรี/ ระบุพิษจากกลิ่นดอกราตรีไว้
ให้ข้อมูลและรูปดอกไม้หอมในช่วงเวลาต่างกันไว้หลากหลาย

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
สาระที่ 3: สารและสมบัติของสาร
ว 3.1 ม.1/2 อธิบายสมบัติและการเปลี่ยนสถานะของสาร โดยใช้แบบจำลองการจัดเรียงอนุภาคของสาร

 

Comments

comments

You May Also Like