โครงสร้างรับมือแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่พยากรณ์การเกิดได้ยาก แผ่นดินไหวที่มีขนาดเท่ากันบางประเทศจะเสียหายน้อย บางประเทศจะเสียหายมาก ขึ้นอยู่กับการเตรียมรับมือของประชาชนและโครงสร้างต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ หากเราเตรียมการไว้ล่วงหน้าความเสียหายก็จะเกิดขึ้นน้อยลง

แผ่นดินไหวเกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก หรือคลื่นไหวสะเทือนที่อยู่ในแกนโลกแล้วส่งพลังงานผ่านเนื้อโลกขึ้นมา จุดที่เกิดแผ่นดินไหวเรียกว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ทำให้จุดบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหวมีการไหวสะเทือนเป็นคลื่นแล้วเดินทางไปตามเปลือกโลก โดยลักษณะของคลื่นมีทั้งคลื่นตามยาวและคลื่นตามขวาง ซึ่งจะทำให้พื้นผิวโลกเกิดการสั่นในลักษณะต่าง ๆ
แผ่นดินไหวนี้แม้ว่าบนพื้นโลกจะสั่นเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าหากอยู่บนตึกสูงจะทำให้การสั่นไหวเป็นระยะทางที่มากขึ้น การก่อสร้างต่าง ๆ จึงควรออกแบบให้ปัองกันการสั่นสะเทือนไว้ด้วย ซึ่งวิธีการลดการสั่นสะเทือนทำได้หลายวิธี เช่น ออกแบบสิ่งก่อสร้างให้มีความยืดหยุ่น ตั้งสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการสั่นสะเทือน หรือใช้เครื่องมือหรือวัสดุพิเศษเพื่อรักษาความสมดุลของสิ่งก่อสร้างไว้ ตัวอย่างเช่น ตึกไทเป 101 เป็นตึกสูง 509 เมตร ใช้อุปกรณ์ลดการสั่นสะเทือนที่เรียกว่า TMD (Tuned Mass Damper) ซึ่งเป็นลูกตุ้มหนัก 660 ตัน ติดตั้งอยู่ที่ 87 ของตึก

Tuned Mass Damper ในตึก ไทเป 101
Tuned Mass Damper ในตึก ไทเป 101

พวกเราลองคิดดูซิว่า สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในบ้านของเราในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยควรคำนึงถึงการรับมือแผ่นดินไหวหรือไม่ และเราจะออกแบบกันอย่างไร


ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
ว 6.1 ม.2/10 สืบค้น สร้างแบบจำลองและอธิบายโครงสร้างและองค์ประกอบของโลก
ว 6.1 ม.4-6/4 สืบค้นและอธิบายความสําคัญของปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดที่ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ง 2.1 ม.2/4 เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Comments

comments

You May Also Like