การคำนวณโอกาสที่ฝนจะตก

ในอดีตมนุษย์คาดการณ์สภาพอากาศได้จากการสังเกตธรรมชาติ จากนั้นได้มีการพัฒนาเครื่องมือวัดปริมาณต่าง ๆ ออกมาที่สามารถบอกค่าต่าง ๆ ได้ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม และเมื่อมีข้อมูลจากการวัดมากขึ้น มีเครื่องมือการคำนวณที่ดีขึ้น จึงทำให้มีการพยากรณ์อากาศออกมา ซึ่งความถูกต้องการการพยากรณ์ยังขึ้นกับจำนวนข้อมูลและความถูกต้องในการคำนวณช่นกัน

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศโดยบอกว่า “กรุงเทพ ฝนตก 40% ของพื้นที่” หมายถึงอย่างไรแน่ ในทางคณิตศาสตร์ ความน่าจะเป็นที่ฝน รวมถึงลูกเห็บหรืออื่น ๆ จะตกจากฟ้าตามธรรมชาติ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Probability of Precipitation (Pop) เท่ากับ C x A โดยที่ C คือเปอร์เซ็นต์ความมั่นใจว่าฝนจะตกตรงไหนสักแห่งในบริเวณที่พยากรณ์ และ A คือเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ที่คาดว่าฝนจะตก จากตัวอย่างข้อความข้างต้น PoP = 40% = C x A ถ้าจะมองย้อนกลับไป สามารถแยกเป็นหลายกรณี ถ้ากรมอุตุนิยมวิทยามั่นใจว่าฝนต้องตกแน่ 100% แปลว่า C = 1 ซึ่งทำให้ A ต้องเป็น 40% ดังนั้นตีความได้ว่า 40% ของพื้นที่กรุงเทพจะมีฝนตก เรามองเชิงพื้นที่ได้ในกรณีแรกนี้ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วถึงแม้จะมีเมฆคล้ำดำมากบนฟากฟ้า กรมอุตุนิยมวิทยาก็ไม่อาจแน่ใจได้อยู่ดีว่าฝนจะตกหรือไม่ตกลงมา ถ้าเป็นแบบนี้ C = 50% = 0.5 นั่นหมายความว่า A ต้องเป็น 80% เพราะ C x A = 0.5 x 0.8 = 0.4 = 40% นอกจากนี้ C กับ A คูณกันได้ 40% ยังมีอีกหลายคู่ ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม เราควรตีความข้อความ “กรุงเทพ ฝนตก 40% ของพื้นที่” ว่า ในทุกจุดของกรุงเทพ มีโอกาสฝนตกลงมาเท่ากันคือ 40% เช่น ที่รามคำแหง โอกาสฝนตกที่นั่นเป็น 40% และโอกาสฝนตกที่สนามหลวงก็ 40% เช่นกัน


ข้อมูลเพิ่มเติม
https://irsyandirifan.wordpress.com/2013/03/18/chapter-6-how-to-calculate-the-probability-of-precipitation/

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ค 5.3 ม.3/1 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นประกอบการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ

Comments

comments

You May Also Like