การเดินทางของสี

เห็นมั้ยครับกระดาษอะไรมีสีสันสวยงามแบบนี้ อยากทำไหมล่ะครับ ถ้าอยากทำก็ได้เลยง่ายนิดเดียวครับนักเรียน

อุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ กระดาษกรอง 2 แผ่น สีเมจิกที่ละลายน้ำได้ แก้วน้ำพลาสติก

ขั้นแรก

นำกระดาษกรองแผ่นที่ 1 มาพับครึ่งแล้วเจาะรูตรงกลาง จากนั้นให้นำสีเมจิกมาจุด ๆ ตรงรอบรูที่เจาะไว้ ให้มีหลายสี จากนั้นม้วนกระดาษกรองอีกแผ่นหนึ่งให้มีขนาดใหญ่กว่ารูที่เจาะเล็กน้อย แล้วนำมาสอดเข้ากับรูที่เจาะกระดาษกรองแผ่นที่ 1 ให้กระดาษกรองแผ่นที่ 2 ที่ม้วนสอดเข้าไปในกระดาษกรองที่เจาะรูแผ่นที่ 1 ให้ยาวพอที่จะนำไปแช่ที่แก้วน้ำพลาสติกได้

วิธีทดลอง

นำกระดาษกรองแผ่นที่ 2 ที่ม้วนสอดเข้าไปในกระดาษกรองแผ่นที่ 1 ที่เจาะรูไว้นำไปจุ่มลงบนแก้วน้ำพลาสติก จากนั้นให้สังเกตน้ำซึมผ่านไปยังกระดาษกรอง สีที่จุด ๆ ไว้ก็จะละลายเป็นสีต่าง ๆ อย่างสวยงาม

หลักการทางวิทยาศาสตร์

การทดลองการเดินทางของสีสิ่งที่เกิดขึ้นคือ “การแยกสาร” โดยอาศัยหลักการที่ว่า สารแต่ละชนิด มีความสามารถในการละลายและดูดซับได้ไม่เท่ากัน ทำให้สารเคลื่อนที่ได้ไม่เท่ากัน เราเรียกวิธีการนี้ว่า “โครมาโทกราฟี” แปลว่า การแยกออกเป็นสี หลักการนี้ใช้กับสารที่มีปริมาณน้อย ๆ

ในการทดลองข้างต้นนี้เป็นโครมาโทกราฟีแบบกระดาษ กระดาษกรองคือตัวดูดซับ สีเมจิกคือตัวถูกละลาย น้ำคือตัวทำละลาย ถ้าสารละลายในตัวทำละลายได้ดีจะเคลื่อนที่ได้เร็ว จะถูกดูดซับน้อย แต่ถ้าสารละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี จะทำให้ถูกดูดซับมาก จึงเคลื่อนที่ได้ช้า ดังนั้นเราจึงเห็นการเดินทางของสีระยะสั้นยาวได้เท่ากัน เกิดเป็นภาพสวยงามบนกระดาษกรองนั่นเอง หากใช้กระดาษที่แตกต่างกัน หรือใช้สารละลายแตกต่างกัน ก็จะทำให้สีเคลื่อนที่ได้เร็วช้าแตกต่างกันไปด้วย

จากการศึกษาเรื่องโครมาโทกราฟีเรานำความรู้ที่ได้มาประโยชน์ได้มากมาย เราสามารถนำวิธีแยกสาร โดยวิธีการโครมาโทกราฟีมาใช้ทดสอบสีของขนมในลูกกวาดซึ่งมีหลากสี หรือตรวจสอบทดสอบหมึกพิมพ์ ของธนบัตร ถ้าหมึกพิมพ์หลุดออกง่ายแสดงว่าธนบัตรปลอม หรือจะประดิษฐ์เป็นดอกไม้ให้มีหลากสีสันทำเป็น ป๊อบอัพ ก็ได้นะครับ

ช่อดอกไม้จากกระดาษกรองโดยการทำโครมาโทกราฟี


ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง
สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
ว 3.1 ม.2/3 ทดลองและอธิบายการหลักการแยกสารด้วยวิธีการกรอง การตกผลึก การสกัด การกลั่น และโครมาโทกราฟี และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

 

Comments

comments

You May Also Like